วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 11 วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

BIOS & OVERCLOCK

BIOS
การกำหนดค่า BIOS และการ Overclock
BIOS (อ่านว่า ไบออส) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับเครื่องพีซี เพราะการทำงานตั้งแต่เริ่มเปิดเครื่องก็จะเริ่มต้นที่ BIOS และการที่เครื่องพีซีจะสามารถมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันไปได้ก็โดย
BIOS คืออะไร ?
BIOS (Basic Input Output System) ประกอบด้วย2ส่วนคือ
1.ตัวโปรแกรมที่เก็บอยู่ใน ROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวรไม่ลบเลือนเมื่อปิดเครื่องหรือไม่มีไฟเลี้ยง แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้
2.ข้อมูลหรือค่าต่างๆที่ตั้งให้โปรแกรมจะทำงานจะเก็บอยู่ใน CMOS RAM (ย่อมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถเขียนข้อมูลหรือแก้ไขข้อมูลได้และกินไฟน้อยเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลและเก็บไว้ได้แม้ขณะที่ปิดเครื่อง โดยใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ ก้อนเล็กๆ CMOS เป็นเทคโนโลยีในการผลิตสารกึ่งตัวนำชนิดพิเศษที่กินไฟน้อยมาก ต่างๆของ BIOS
การอัพเกรด BIOS (Upgrade)
บ่อยครั้งที่การอัพเกรด BIOS เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก BIOS เดิมอาจจะไม่รองรับกับชิ้นส่วนใหม่ๆเช่น ซีพียูรุ่นใหม่ หรือฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่ที่มีความจุสูงขึ้น เป็นต้น ดังนั้นการอัพเกรด BIOS จะขึ้นอยู่กับชนิดของชิป ROM BIOS ที่ใช้เก็บตัวโปรแกรมว่าเป็นแบบ flash หรือ non – flash ถ้าเป็น flash BIOS ซึ่งสามารถแก้ไขข้อมูลได้ ก็จะสามารถอัพเกรดได้ด้วยซอฟแวร์ที่อาจได้มาจากการดาวน์โหลดจากเว็บไซท์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดนั้นๆ พร้อมกับโปรแกรมที่จำเป็น แล้วทำตามขั้นตอนที่คู่มือของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆแนะนำไว้
Note
การอัพเกรด BIOS เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ BIOS ใหม่ก็อาจจะสร้างปัญหาใหม่ให้กับเมนบอร์ดอย่างคาดไม่ถึงได้ และถ้ามีปัญหาอัพเกรดไม่สำเร็จอาจจะถึงขั้นทำให้เมนบอร์ดนั้นใช้ไม่ได้อีกเลย ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นหรือไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาติดขัดอยู่ ก็ไม่ควรจะอัพเกรด BIOS เล่นเป็นต้น
การกำหนดค่า BIOS
ปกติแล้วการกำหนด BIOS จะทำได้โดยกดคีย์บอร์ดในขณะที่บู๊ตเครื่อง ซึ่งก็แล้วแต่ BIOS ของเครื่องนั้นๆ โดยส่วนใหญ่จะใช้คีย์ [Del] นอกจากนั้นก็มี [F1] (IBM) , [F2] (Compaq)ซึ่งมักจะแสดงขึ้นมาบอกในขณะที่ BIOS แสดงชื่อและรุ่นออกมาตอนเปิดเครื่อง แต่ถ้าไม่มีก็คงต้องดูจากคู่มือเมนบอร์ด
วิธีการใช้งานหน้าจอกำหนดค่าของ BIOS ปกติแล้วมักจะมีลักษณะเป็นเมนูที่สามารถใช้คีย์ลูกศรทิศทางต่างๆเลื่อนไปยังแต่ละหัวข้อ และใช้คีย์ [Enter] ในการเลือกเข้าไปแต่ละเมนู ซึ่งทำให้สามารถเลือกเข้าไปที่หัวข้อต่างๆได้อย่างง่ายดาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงค่าของแต่ละรายการอาจจะใช้คีย์ [PgUp],[PgDn]ในการเลื่อนค่ากลับไปกลับมาได้ ซึ่งบาง BIOS อาจจะใช้คีย์ [F7]และ[F8]หรือ[+],[-]หรือไม่ก็ใช้[Space]เพียงอย่างเดียวหรือ กดคีย์ [Enter]แล้วเลือกจากเมนูย่อยก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วในหน้าจอจะมีรายการหน้าที่ของคีย์ต่างๆแสดงอยู่ เพื่อบอกให้รู้ว่าสามารถใช้คีย์ใดทำอะไรได้บ้าง ในการกลับออกไปที่เมนูหลักโดยส่วนใหญ่มักจะใช้คีย์[ESC]ส่วนมากออกจากระบบโดยการกำหนดค่า BIOS ก็มักจะมีให้เลือกว่าต้องการบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่ทำนั้นก่อนที่จะออกไปหรือไม่ โดยมี 2 หัวข้อคือ Write to CMOS and exit (หรือบางทีก็เขียนว่า Exit and save change)ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลทุกอย่างที่แก้ไขไว้ใน CMOS ก่อนที่จะออกไปและ Do not write to CMOS and exit (หรือ Exit without save)ซึ่งเป็นการออกไปโดยไม่มีการเก็บข้อมูลใดๆซึ่งทุกอย่างจะกลับสู่สภาพเดิมเหมือนไม่มีการแก้ไขใดๆ
Password(กำหนดรหัสผ่าน)
ในBIOS จะมีการกำหนดรหัสผ่านได้ 2 ลักษณะ คือ
- Supervisor password เป็นรหัสผ่านที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากสามารถตั้งไว้เพื่อป้องกันการเข้าไปแก้ไขค่าต่างๆที่ถูกกำหนดไว้ใน BIOS ได้ การแก้ไขสำหรับในกรณีที่ลืมรหัสผ่านจำเป็นจะต้องใช้วิธีการ Clear BIOS อย่างเดียว
- User password เป็นรหัสผ่านที่ตั้งไว้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นหรือผู้ใดที่ไม่ทราบรหัสผ่านสามารถเข้าไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ ซึ่งถ้าตั้งรหัสผ่านไว้แล้วเครื่องจะถามรหัสผ่านทุกครั้งที่มีการเปิดเครื่อง
รหัสผ่านมีประโยชน์ในการป้องกันผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาใช้เครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาเปลี่ยนแปลงBIOS ซึ่งอาจจะทำให้เครื่องมีปัญหาหรือใช้งานไม่ได้อีกเลย รวมทั้งการเข้ามาตั้งรหัสใหม่เพื่อทำให้เจ้าของเดิมใช้เครื่องไม่ได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามถ้าลืมรหัสที่กำหนดไว้ก็จะเป็นเรื่องวุ่นวายมากเลยทีเดียว เนื่องจากคุณจะไม่สามารถเข้าไปใช้งานเครื่องหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข BIOS ได้อีกเลย จึงควรหาทางจดบันทึกรหัสผ่านที่กำหนดนี้เก็บไว้ในที่ปลอดภัยด้วย มิฉะนั้นก็อาจจะต้องใช้วิธีเปิดเครื่องออกมาแล้วเสียบจัมเปอร์ใหม่ เพื่อลบค่าที่ตั้งไว้ให้กับBIOSออกไป (ถ้าทำได้) หรือแม้กระทั่งอาจจะต้องถอดถ่านหรือแบตเตอรี่ (Battery) ออกซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
การตั้งค่า BIOS เพื่อ overclock
ปัจจุบันซีพียูมีความเร็วมากขึ้นจนกระทั่งการ overclock มีความหมายน้อยลงไปทุกที แต่เมนบอร์ดในปัจจุบันก็ช่วยให้การ overclock ทำได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อนที่ต้องปรับเปลี่ยนจัมเปอร์หรือตั้งค่าสวิตช์ กันมากมาย รวมทั้งไม่เสี่ยงต่อความเสียหายด้วย การ overclock ด้วย BIOS จึงถือได้ว่าเป็นการใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเต็มประสิทธิภาพมากที่สุดแทน
อย่างไรก็ตามแม้การ overclock ด้วยวิธีนี้จะไม่เสี่ยงต่อความเสียหาย แต่ก็ยังคงมีความเสียหายต่อการบู๊ตไม่ได้ ดังนั้นจึงควรศึกษาดูก่อนว่าเมนบอร์ดนี้มีความสามารถที่จะทำให้การบู๊ตกลับขึ้นมาใหม่เมื่อมีการตั้งค่าผิดพลาดไปหรือไม่ (ซึงเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่สำคัญของเมนบอร์ดที่เหมาะสมสำหรับการ overclock แต่ไม่มีมากับทุกบอร์ด) ถ้าไม่มีก็จะต้องศึกษาในเรื่องของการเคลียร์ค่าของ CMOS ให้ดีๆดูว่าล้างได้ง่ายๆโดยเพียงแค่สลับจัมเปอร์หรือไม่ ไม่เช่นนั้นแล้วก็ไม่ควรจะเสี่ยงที่จะ overclock จนมากเกินไป
Overclock คืออะไร
ก่อนที่จะ overclock มาทำความเข้าใจกันก่อนว่า oveclock คืออะไร และมีแนวทางอย่างไร การ overclock คือ การทำให้อุปกรณ์ทำงานที่ความเร็วสูงกว่ามาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การทำงานเต็มประสิทธิภาพตามที่ได้ดูกันมาแล้วในหัวข้อที่แล้ว การ overclock อาจจะกระทำกีบซีพียู RAM การ์ดจอ บัสสำหรับรับส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะทำเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดรวมกันก็ได้ โดยการเร่งความเร็วให้สูงขึ้นนี้อาจจะต้องทำร่วมกันกับการเพิ่มแรงดันไฟฟ้า เพื่อเพิ่มความเร็วให้มากยิ่งขึ้นไปอีกด้วย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดในการ overclock ก็คือ ความร้อนที่เกิดมากขึ้น และทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะต้องทำงานที่อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อความเสียหาย หรือทำให้อายุการใช้งานสั้นลง การ overclock จึงควรจะกระทำควบคู่ไปกับการปรับปรุงการระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย